Thursday, December 19, 2013

ในพระพุทธศาสนา มีคำสอน หนึ่งที่ว่า "“บัณฑิตย่อมไม่เพ่งโทษผู้อื่น"

พระพุทธธรรม โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 

คัดลอกมาจาก เว็บไซต์ ลานธรรมจัีกร 
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12831

ประทับใจมาก จะเป็นคนดี ควรมีข้อนี้ด้วย จะเหมือนยกก้อนหินหนักๆ ออกจากศรีษะ
แม้เราไม่ได้เบียดเบียนใคร แต่ คิดแต่เพ่งโทษผู้อื่น เรานี่ล่ะจะหนักใจไปเอง ระวังครับ
สาธุๆๆ
ขอขอบคุณ เว็บไซต์ ลานธรรมจักร ไว้ ณ. ที่นี้

(กรณี ต้นฉบับจริงๆ อาจจะเป็นจากที่อื่น ขอขอบพระคุณเช่นกันครับ และโปรดแจ้งกระผม ที่
konthaihappy@yahoo.com ขอบคุณครับ)

******************************************************************************

พระพุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า “บัณฑิตย่อมไม่เพ่งโทษผู้อื่น

อัญเชิญพระพุทธภาษิตนี้มาช่วยประเทศชาติของเราเถิด ถึงเวลาแล้วอย่าปล่อยให้สายเกินไป รู้อยู่แก่ใจ ว่าบ้านเมืองกำลังวุ่น กำลังร้อน อย่าไปมัวเพ่งโทษคนนั้นคนนี้ว่าไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้ ควรทำอย่างนั้น ควรทำอย่างนี้

โดยมิได้นึกถึงตนเองเลยว่าต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ ที่เป็นบุญกุศล ไม่เป็นบาปไม่เป็นอกุศล แล้วทำตามที่คิดในทันที การมัวไปเพ่งโทษคนอื่นว่าทำผิดอย่างนั้น ทำไม่ดีอย่างนี้ นอกจากไม่ให้คุณแก่ใครแล้ว ไม่ช่วยประเทศชาติให้ร่มเย็นเป็นสุข 


มีพระพุทธภาษิตเตือนไว้ว่า “บัณฑิตย่อมไม่เพ่งโทษผู้อื่น” เพราะไม่มีคุณสมบัติ มีแต่โทษสถานเดียว

ทุกคนน่าจะพยายามอยากเป็นบัณฑิตตามพระพุทธพจน์ พร้อมกับไม่ลืมนึกไปพร้อมกันด้วยว่า“บัณฑิตย่อมไม่เพ่งโทษผู้อื่น” และขณะนี้กำลังอ่านหนังสืออบรมจิตใจ เรียกว่าหนังสือธัมมะก็ไม่ผิด

เมื่อกล่าวถึงบัณฑิตจึงเป็นบัณฑิตทางธรรมด้วย คือเป็นคนดีมีปัญญา ไม่มีการศึกษาระดับปริญญาเอกโท ตรี เลยก็เป็นบัณฑิตในพระพุทธศาสนาได้ แม้เป็นคนดีมีปัญญา แต่แม้มีปริญญาเอก โท ตรี แต่ไม่มีความดีไม่มีปัญญา คือไม่ใช่คนดีมีปัญญา ก็ไม่ใช่บัณฑิตในทางธรรมในพระพุทธศาสนา

เมื่อนึกเช่นนี้ขึ้นมา ก็ทำให้นึกเลยไปจนได้ความคิดมาฝากให้เป็นประโยชน์แก่พวกเราทั้งหลาย นั่นก็คือเกิดความคิดเพ่งโทษผู้อื่นเมื่อใด ให้มีสติรับรู้ความจริง และบอกความจริงนั้นแก่ตนว่า ตนไม่ใช่บัณฑิต เพราะถ้าตนเป็นบัณฑิตก็คงไม่ไปเพ่งโทษคนนั้นคนนี้ ต้องเพ่งโทษตัวเองเท่านั้น 

ก็ขอฝากไว้ให้พยายามมีสติระลึกรู้ความจริงนี้ไว้เสมอ ว่าตนเป็นบัณฑิตหรือไม่ใช่บัณฑิต อายตัวเองหรือไม่อาย เมื่อรู้แก่ใจว่าตนไม่ใช่คนดีมีปัญญา มีบุญได้เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา ยังไม่ปฏิบัติตามที่สมเด็จพระบรมครูทรงสอน

: แสงส่องใจ อาสาฬหบูชา ๒๕๔๗
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
 

******************************************************************
ด้วยจิตคารวะ
คุณบอลล์ :0)

Wednesday, December 11, 2013

คติในใจ เมื่อถูกรบกวนด้วย สิ่งไม่ดี จงท่องไว้ นรก นรก นรก และ สวรรค์ สวรรค์ สวรรค์

สวัสดีครับ

      กระบวนการในสมอง และ จิตใจของคนเรา ต่างกัน แต่ ในระดับทางโลก อะไรที่ ถูกใจตัวเอง เรามักจะมีความสุข ด้วยกลวิธี ที่นำธรรมชาติข้อนี้มาใช้  บุคคลที่ยังมี กิเลสในตนมาก แต่อยาก ขัดเกลาตนเอง อาจให้วิธีนี้ได้  เช่นว่า


                เมื่อคุณประสบ กับ บุคคล เหตุการณ์ อะไรที่ ไม่ดี ร้าย ไม่ยุติธรรม เอาเป็นว่า เป็นอกุศล
  คุณรับรู้ได้ ว่า มันไม่ใช่เรื่องดี คุณคิดว่า คนที่ทำสิ่งเหล่านี้กับคุณ จะไปสวรรค์ หรือ นรก
   ตอบได้ง่ายๆ   ไปนรก เพื่อชดใช้กรรม หากเขาไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ฟันธงว่า แน่นอน

            จำวลีนี้ได้ไหมครับ  
         
                              "ไม่มีสิ่งใดที่ทำแล้วเสียเปล่า ไม่มีกรรมใดที่ทำแล้วไม่ส่งผล"
          คือ

                         "ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว"  นั่นล่ะ

              จงท่อง วลี นี้ ขึ้นในใจ คุณทันที ที่ประสบเหตุการณ์ อกุศลต่างๆ ดังนี้

           "นรก นรก นรก คนเหล่านี้ ไม่รู้หรือว่า บั้นปลายที่ทำ อกุศลกรรม ต้องไปชดใช้กรรม  ที่ นรก?"

      จิตใจเราจะรับรู้ได้ทันที ว่า เราได้รู้ทัน และ ผ่อนคลายอารมณ์ลงไปทันที อย่างรวดเร็ว ลองดูครับ

      ในขณะเดียวกันนั้น ให้ต่อด้วย ความคิด ในใจว่า
       
         "สวรรค์ สวรรค์ สวรรค์ เราผู้ไม่ถือสา ให้อภัย ย่อมมีที่หมายบั้นปลาย ที่สวรรค์ เป็นแน่แท้ "

        นี่ล่ะครับ กลไกนี้ อาจช่วยคุณดับอารมณ์ โลภ โกรธ หลง ได้ลงได้ อย่าง มหาศาล

 แต่ แต่ แต่  อย่าเพิ่งฝันหวานเกินไป ต้องฝืกทำไปครับ ไม่นาน คุณจะสนุก กับการได้ทำ แบบนี้ ซึ่งจะนำคุณ ไปสู่ธรรมะ ที่สูงขึ้น ลึกซึ้งขึ้นในที่สุด

สวัสดีครับ
คุณบอลล์

ปล. นรก นรก นรก ...สวรรค์ สวรรค์ สวรรค์
        เหล่านี้คือการย้ำเตือนสติตัวเองว่า เราจะไปที่ไหน และเราถอยห่างจากอะไร ...สาธุ

มารยาทดี ทำแล้ว ได้อะไร ในทางโลก และ ทางธรรม

สวัสดีครับ

     การมีมารยาท ที่ดี ขอบอกว่า สามารถฝึกได้ มีความยาก ความท้าทายไม่น้อยกว่า การที่เราไปฝึกวิชาการต่อสู้ อย่างนั้นเลยนะครับ เพราะว่า มันต้องผ่าน การต่อสู้กับตัวตนของตัวเองเสียก่อน
คนโบราณเคยบอกว่า จิตใจคนเรา นั้นมันดื้อ มีกำลังมาก ต้องปรามด้วย สติ และ เรื่องสติ นี่จะมีสอนเหมือนกันทั้งใน หัวข้อ มารยาท และ ศิลปการต่อสู้

      ใครเคยเรียน หรือ ดูหนังแนวที่มีการต่อสู้ อาจารย์ หรือ ปรมาจารย์ จะสอนเสมอให้ เป็นผู้มีใจอารี ไม่ทำร้ายใครก่อน ฝึกวิชาไว้เพื่อป้องกันตัว พิทักษ์รักษา คนที่เรารัก ขณะที่ ขั้นสูงสุดของการฝึกวิชาในสายเอเชียคือ มีการนั่งสมาธิ เพื่อรู้จักตัวเอง ประมาณนี้ นี่แบบนี้ ต้องมี คำว่า ใช้ สติ แน่ๆ

        การเรียนมารยาทก็เ่ช่นกัน หากเราไม่ใช่คนที่ฝึกสติ สันดานดิบมันจะออกมาครับ นี่ไม่ใช่คนตรง (คนตรงนิยามเป็นอย่างไร อ่านบทความที่ผ่านมาครับผม) แต่เป็นคน ที่ไม่รู้จักขัดเกลาตัวเองต่างหาก คนเราเิกิดมา ไม่ได้เพื่อ มีความสุขแต่กับตัวเอง หรือกับคนใกล้ชิดไม่กี่คน แต่ ต้องดูแลสังคมด้วยในฐานะ สุภาพชน นั่นเอง การจะเป็นสุภาำพชน ได้นั้น ต้องมี สติ เช่นกันครับ และการฝึกตัวเองให้มีมารยาทนั้น ต้องตั้งใจขัดเกลา เพิ่มพูนสติ ไม่ด้อย ไปกว่า การฝึกศิลปะการต่อสู้ครับ หากไม่เชื่อ ลองฝึกเลยครับ
(คนที่ไม่ได้สนใจเรื่องมารยาทมาก่อนจะเห็นชัดเลย)

           อย่างไรก็ตาม คนที่มีมารยาท มักจะได้รับการยอมรับในสังคม มีความเป็นสุภาพชน และผู้คนมักยกย่อง นับถือ ขอให้คุณมีมันจริงๆ เถอะ ไม่ใชมีบ้าง ไม่มีบ้าง อย่างที่เขาเรียกว่า แอ๊บแบ๊ว คือ แสร้งทำ
แต่จริงๆ แล้ว ไม่ได้มีมารยาทจริงๆ แบบนี้ไม่ไหวครับ

          คนมีมารยาท มีความเป็นผู้ดีจริงๆ จะเข้า กับวลีที่ว่า สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ครับ ระยะสั้นมากๆ อาจจะยังไม่เห็นผลแต่ระยะปานกลางถึงยาว จงดำรงความมีมารยาทเข้าไว้ รับรอง จะเห็นผลจากชื่อเสียงขจรขจาย จากการพิสูจน์ นานปี

            มารยาทกับเรื่อง บุญกรรม มีความเกี่ยวข้องกันจนแยกออกจากกันไม่ได้ นั่นเพราะ ขณะที่เราทำเราต้องมี สติ ข้อหนึ่งแล้ว เรายังต้อง ระวังตัวเองระดับหนึ่ง มันก็คือ การปฏิบัติธรรมกลายๆ นี่ล่ะครับ ข้อที่ผมชอบนำมากล่าวอ้างคือ สัมมาวายาโม คือ ความเพียรชอบ เป็นหนึ่งในมรรคมีองค์แปด ครับ

        สัมมาวายาโม เป็นอย่างไร ก็คือ การประกอบสิ่งดีให้เพิ่มพูนกับตัวมากๆ จากสิ่งน้อย ไปจนสิ่งใหญ่ๆ ขอให้พากเพียรทำไป ขณะที่ยังต้องประคองรักษาความดีนี้ไว้อย่าให้หนีหายหรือ เสื่อมลง เมื่ออายุมากขึ้น เวลาผ่านไป ความดีงามจะเพิ่มพูนประดับตัว แม้ใครที่ไหนไม่รู้ ฟ้าดินรู้ เรารู้เอง ข้อนี้สิสำคัญ เรารู้ เราจะเกิดความภาคภูมิใจ คล้ายๆ กับ เศรษฐีในทางโลก มีเงินทอง มีชีิวิตสุขสบาย เขาก็ภาคภูมิ แต่ในทางธรรม เราเป็นมหาเศรษฐีความดี มหาเศรษฐีแห่งกุศลธรรม เราก็ภาคภูมิเช่นกัน คนพวกนี้ จะมีความองอาจ ผ่าเผย สีหน้าผ่องใสเป็นนิจ ทนทานต่อ อกุศลธรรม มาร ศัตรู จะแพ้ภัยไปเอง

            ข้อสรุปแรก คือ รักษากุศลธรรมเดิมไว้ให้เพิ่มพูน ไม่บกพร่อง ขณะที่หมั่นสร้าง กุศลธรรมใหม่ๆ เพิ่มเติมเสมอ ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะอย่าลืม ภพภูมิ ที่ได้เกิดเป็น มนุษย์นั้น แสนยาก นะครับ เกิดเป็นคนแล้ว เร่งสร้างความดีงามเพิ่มเข้ามาใส่ตัวให้มากๆ ครับ ทำให้ได้ทุกวัน ครับ

      ขณะที่แม้เราจะไม่ใช่คนขาวสะอาดเสียเท่าไร แต่ หากเว้นจากอนันตริยกรรม 5 ข้อแล้ว ล้วนจะสามารถบรรลุธรรมะขั้นสูง ของพุทธศาสนาได้ เมื่อมีการบำเพ็ญเพียร ดังนั้น แสดงว่า ในหลักธรรมแล้วเราสามารถที่จะ ขัดเกลาตัวเองให้ ขาวสะอาดได้ อย่างเท่าเทียมกัน หากเราตัดสินใจ ที่จะบำเพ็ญเพียร
แต่เป็นแบบนี้แล้ว จงศรัทธาเสมอว่า เราจะลด ละ เลิก อกุศลใหม่ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นอีก และ ชำระล้าง อกุศลเก่า ของเดิม ที่ทำไปแล้วให้หมดสิ้น โดย การ ลด ละ เลิก เช่นเดียวกัน นั่นเอง

            ข้อสรุปที่สอง คือ การลดละเลิก ระวังไม่ให้อกุศลใหม่ เกิดขึ้นมา ทำให้ได้ทุกวัน จากนั้น ให้ดูว่าอกุศลเดิมอะไร ที่ทำแล้ว เกิดแล้ว ให้ถอยห่าง ลด ละ เลิก ให้หมด นี่คือวิธีที่ควรกระทำ


   จากจข้อสรุปทั้ง 2 ข้อ คือ แนวทางของ มรรค ข้อหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า สัมมาวายาโม ครับ ซึ่งผมซาบซึ้งในธรรมะข้อนี้มาก เนื่องจากเพียงข้อเดียว ก็แทบจะทำให้โลกใบนี้ สงบได้ จากทุกข์ภัยทั้งหลายได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แล้วถ้าหากทำกันได้ ครบ มรรคมีองค์ 8 ล่ะ โลกของเราจะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหน และสำหรับตัวบุคคลล่ะ เขาคนนั้นจะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหน?

       นี่คือบทความอีก 1 บทความที่ขอฝากไว้ครับ

สวัสดีครับ
คุณบอลล์ :0)